นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ประกาศเทศบาลตำบลเชิงดอย
เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Privacy Notice)
-----------------
ขอบเขตการบังคับใช้นโยบาย
นโยบายนี้ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับ เทศบาล ในปัจจุบันและที่อาจมีในอนาคต ซึ่งถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดย เทศบาล เจ้าหน้าที่ พนักงานตามสัญญา หน่วยธุรกิจหรือหน่วยงานรูปแบบอื่นที่ดำเนินการโดย เทศบาล และรวมถึงคู่สัญญาหรือบุคคลภายนอกที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของ เทศบาล (“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) ภายใต้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ ระบบ แอพพลิเคชัน แพลตฟอร์ม เอกสาร หรือบริการในรูปแบบอื่นที่ควบคุมดูแลโดย เทศบาล (รวมเรียกว่า “บริการ”) บุคคลมีความสัมพันธ์กับ เทศบาล ตามความในวรรคแรก รวมถึง
1. ลูกค้าบุคคลธรรมดา
2. เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงาน ลูกจ้าง
3. คู่ค้าและผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
4. กรรมการ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทน ตัวแทน ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเดียวกันของนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ เทศบาล
5. ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของ เทศบาล
6. ผู้เข้าชมหรือใช้งานเว็บไซต์ www.choengdoi.go.th รวมทั้งระบบ แอพพลิเคชัน แพลตฟอร์ม อุปกรณ์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ซึ่งควบคุมดูแลโดย เทศบาล
7. บุคคลอื่นที่ เทศบาล เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ผู้ยื่นคำร้อง ผู้ยื่นคำขอ ผู้ขออนุญาต ผู้สมัคร
ข้อ 1. ถึง 7. เรียกรวมกันว่า “ท่าน”
นอกจากนโยบายฉบับนี้แล้ว เทศบาล อาจกำหนดให้มีคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (“ประกาศ”) สำหรับบริการของ เทศบาล เพื่อชี้แจงให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้ใช้บริการได้ทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกประมวลผล วัตถุประสงค์และเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายในการประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพึงมีในบริการนั้นเป็นการเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันในสาระสำคัญระหว่างความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและนโยบายนี้ ให้ถือตามความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของบริการนั้น
คำนิยาม
“เทศบาล” หมายถึง เทศบาลตำบลเชิงดอย
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
“ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง การดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บรวบรวม บันทึก สำเนา จัดระเบียบ เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ใช้ กู้คืน เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน รวม ลบ ทำลาย เป็นต้น
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ เทศบาล เก็บรวบรวม
เทศบาล เก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ เทศบาล เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆ เช่น การยื่นคำร้อง คำขออนุญาต คำขอจดทะเบียน การชำระค่าภาษี/ค่าธรรมเนียม ขั้นตอนการสมัคร ลงทะเบียน สมัครงาน ลงนามในสัญญา เอกสาร ทำแบบสำรวจหรือใช้งาน บริการ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดย เทศบาล หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับเทศบาล ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดย เทศบาล เป็นต้น
2. ข้อมูลที่ เทศบาล เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของ เทศบาล ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ เทศบาล เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่ เทศบาล เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่ เทศบาล มีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้
นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่ เทศบาล ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้น หากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่ เทศบาล
ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของ เทศบาล อาจเป็นผลให้ เทศบาล ไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน
ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
เทศบาล พิจารณากำหนดฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามความเหมาะสมและตามบริบทของการให้บริการ ทั้งนี้ ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ เทศบาล ใช้ประกอบด้วย ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. เพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือการใช้อำนาจรัฐที่ เทศบาล ได้รับ : เพื่อให้เทศบาล สามารถใช้อำนาจรัฐและดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะตามพันธกิจ เทศบาล ซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 รวมถึง กฎ ระเบียบ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
2. เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย : เพื่อให้เทศบาลสามารถปฏิบัติตามที่กฎหมายที่ควบคุมเทศบาล เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 รวมถึง การดำเนินการตามคำสั่งศาล เป็นต้น
3. เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย : เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของเทศบาล และของบุคคลอื่น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพื่อการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ของ เทศบาล หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกิจการภายในของ เทศบาล เป็นต้น
4. เป็นการจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล : เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น การให้บริการแอพพลิเคชันเพื่อเฝ้าระวังโรคระบาดตามนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น
5. เพื่อการปฏิบัติตามสัญญา : เพื่อให้ เทศบาล สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือดำเนินการอันเป็นความจำเป็นต่อการเข้าทำสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับ เทศบาล เช่น การจ้างงาน จ้างทำของ การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือสัญญาในรูปแบบอื่น เป็นต้น
6. เพื่อการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติที่สำคัญ : เพื่อให้ เทศบาล สามารถจัดทำหรือสนับสนุนการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ วิจัยหรือสถิติตามที่ เทศบาล อาจได้รับมอบหมาย เช่น การจัดทำทำเนียบ การจัดทำสถิติการจัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการ การใช้บริการดิจิทัลภาครัฐ งานติดตามการดำเนินนโยบายรัฐบาลดิจิทัล เป็นต้น
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่ เทศบาล เก็บรวบรวม
1. ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล คือ ข้อมูลระบุชื่อเรียกของท่านหรือข้อมูลจากเอกสารราชการที่ระบุข้อมูลเฉพาะตัวของท่าน เช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล ชื่อกลาง ชื่อเล่น ลายมือชื่อ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน สัญชาติ เลขที่ใบขับขี่ เลขที่หนังสือเดินทาง ข้อมูลทะเบียนบ้าน หมายเลขใบประกอบการ หมายเลขใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพ (สำหรับแต่ละอาชีพ) หมายเลขประจำตัวผู้ประกันตน หมายเลขประกันสังคม เป็นต้น
2. ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคล คือ ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น วัน เดือน ปีเกิด เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก อายุ สถานภาพการสมรส สถานภาพการเกณฑ์ทหาร รูปถ่าย ภาษาพูด ข้อมูลพฤติกรรม ความชื่นชอบ ข้อมูลการเป็นบุคคลล้มละลาย ข้อมูลการเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น
3. ข้อมูลสำหรับการติดต่อ คือ ข้อมูลเพื่อการติดต่อท่าน เช่น เบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์โทรศัพท์ เคลื่อนที่ หมายเลขโทรสาร อีเมล ที่อยู่ทางไปรษณีย์บ้าน ชื่อผู้ใช้งานในสังคมออนไลน์ (Line ID, MSTeams) แผนที่ตั้งของที่พัก เป็นต้น
4. ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและการศึกษา คือ รายละเอียดการจ้างงาน รวมถึงประวัติการทำงานและประวัติการศึกษา เช่น ประเภทการจ้างงาน อาชีพ ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ ความเชี่ยวชาญ สถานภาพ ใบอนุญาตทำงาน ข้อมูลบุคคลอ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการทำงาน ข้อมูลเงินเดือน วันเริ่มงาน วันออกจากงาน ผลการประเมิน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ พัสดุในครอบครองของผู้ปฏิบัติงาน ผลงาน หมายเลขบัญชีธนาคาร สถาบันการศึกษา วุฒิการศึกษา
5. ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของ เทศบาล คือ รายละเอียดเกี่ยวกับบริการของ เทศบาล เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลระบุพิกัด ภาพถ่าย วีดีโอ บันทึกเสียง
6. ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน (เว็บไซต์ที่อยู่ในความดูแลของ เทศบาล เช่น www.choengdoi.go.th แพลตฟอร์ม หรือแอพพลิเคชันต่าง ๆ) ประวัติการสืบค้น คุกกี้หรือเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกัน หมายเลขอุปกรณ์ (Device ID) ประเภทอุปกรณ์ รายละเอียดการเชื่อมต่อ ข้อมูล Browser ภาษาที่ใช้งาน ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน เป็นต้น
7. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของท่าน เช่น เชื้อชาติ ข้อมูลศาสนา ข้อมูลความพิการ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น
คุกกี้
เทศบาล เก็บรวบรวมและใช้คุกกี้รวมถึงเทคโนโลยีอื่นในลักษณะเดียวกันในเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลของเทศบาล เช่น www.choengdoi.go.th หรือบนอุปกรณ์ของท่านตามแต่บริการที่ท่านใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการให้บริการของ เทศบาล และเพื่อให้ท่านซึ่งเป็นผู้ใช้งานได้รับความสะดวก และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานบริการของ เทศบาล และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ของเทศบาล ให้ตรงกับความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น โดยท่านสามารถตั้งค่าหรือลบการใช้งานคุกกี้ได้ด้วยตนเองจากการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ของท่าน
ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถและคนเสมือนไร้ความสามารถ
วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการดำเนินประโยชน์สาธารณะที่ เทศบาล ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง หรือเป็นการจำเป็นเพื่อใช้อำนาจทางกฎหมายที่เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามพันธกิจดังปรากฏในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 และกฎหมาย กฎระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อให้บริการและบริหารจัดการบริการของ เทศบาล ทั้งบริการภายใต้สัญญาที่มีต่อท่าน หรือตามพันธกิจของเทศบาล
3. เพื่อการดำเนินการทางธุรกรรมของเทศบาล
4. ควบคุมดูแล ใช้งาน ติดตาม ตรวจสอบและบริหารจัดการบริการเพื่ออำนวยความสะดวก และสอดคล้องกับความต้องการของท่าน
5. เพื่อเก็บรักษาและปรับปรุงข้อมูลอันเกี่ยวกับท่าน รวมทั้งเอกสารที่มีการกล่าวอ้างถึงท่าน
6. จัดทำบันทึกรายการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
7. วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับบริการของเทศบาล
8. เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงการรับสมัครงาน การสรรหากรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ การประเมินคุณสมบัติ
9. ป้องกัน ตรวจจับ หลีกเลี่ยง และตรวจสอบการฉ้อโกง การละเมิดความปลอดภัย หรือการกระทำที่ต้องห้าม หรือผิดกฎหมาย และอาจเกิดความเสียหายต่อทั้ง เทศบาล และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
10. การยืนยันตัวตน พิสูจน์ตัวตนและตรวจสอบข้อมูลเมื่อท่านสมัครใช้บริการของ เทศบาล หรือติดต่อใช้บริการ หรือใช้สิทธิตามกฎหมาย
11. ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพบริการให้ทันสมัย
12. การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง
13. ส่งการแจ้งเตือน การยืนยันการทำคำสั่ง ติดต่อสื่อสารและแจ้งข่าวสารไปยังท่าน
14. เพื่อจัดทำและส่งมอบเอกสารหรือข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องและจำเป็น
15. ยืนยันตัวตน ป้องกันการสแปม หรือการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือผิดกฎหมาย
16. ตรวจสอบว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าถึงและใช้บริการของ เทศบาล อย่างไร ทั้งในภาพรวมและรายบุคคล และเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการค้นคว้า และการวิเคราะห์
17. ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่ เทศบาล มีต่อหน่วยงานที่มีอำนาจควบคุม หน่วยงานด้านภาษี การบังคับใช้กฎหมาย หรือภาระผูกพันตามกฎหมายของเทศบาล
18. ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของเทศบาล หรือของบุคคลอื่น หรือของนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการการดำเนินการของ สพร.
19. ป้องกัน หรือหยุดยั้งอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งรวมถึงการเฝ้าระวังโรคระบาด
20. จัดเตรียมเอกสารทางประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การค้นคว้า หรือจัดทำสถิติที่เทศบาลได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
รายการเอกสารดาวน์โหลด
ลำดับ | ชื่อเอกสาร | ขนาดไฟล์ | ดาวน์โหลด(ครั้ง) |
---|---|---|---|
1 | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเทศบาลตำบลเชิงดอย | 7.49 MB. | 51 |