ข่าวประชาสัมพันธ์
สารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์
- 3 ตุลาคม 2562
- อ่าน 1,132 ครั้ง
สารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์
โดย นพ. ชัยสึก จิวะธนะพร
สารไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ในมารดาที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในร่างกาย ทำให้ต้องมีการใช้สารไอโอดีนเพิ่มมากขึ้น ถ้าร่งกายมารดาขาดไอโอดีน จะทำให้เกิดคอพอก ทั้งในมารดาและทารกในครรภ์ และอาจจะมีผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและทางสมองของทารกได้
เมื่อร่างกายได้รับสารไอโอดีนในอาหาร จะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ซึ่งในภาวะปกติ ต่อมไทรอยด์จะสามารถเก็บไอโอดีนได้ 10-80% ของไอโอดีนที่ถูกดูดซึม และนำไปผ่านขั้นตอนในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อม thyroid มีความสามารถในการเก็บสะสม hormone ได้ในปริมาณมาก และจะค่อยๆ ปล่อยไทรอยด์ฮอร์โมนนี้ออกสู่กระแสเลือดทีละน้อยๆ ตามความต้องการของร่างกาย
ในหญิงตั้งครรภ์มีความต้องการไอโอดีนในปริมาณที่สูงขึ้น เนื่องจาก
1. ในกระแสเลือดมีโปรตีนที่จับกับไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้นจากการที่มีระดับเสโตรเจนในขณะตั้งครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น การมีตัวจับมากทำให้ฮอร์โมนอิสระในกระแสเลือดลดลง การออกฤทธิ์ก็จะลดลง ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีการสร้างฮอร์โมนออกมามากขึ้นกว่าปกติ
2. ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ทารกต้องการไทรอยด์ฮอร์โมนของมารดาที่ผ่านมาทางรกเพื่อใช้ในการพัฒนาของระบบประสาท เพราะทารกยังไม่มีการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ของตนเอง
3. มีการขับฮอร์โมนออกทางไตมากขึ้น
4. ต่อมไทรอยด์ของทารกเองมีความต้องการใช้สารไอโอดีน
ความต้องการสารไอโอดีนในมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร
องค์การอนามัยโลกได้แนะนำปริมาณไอโอดีนที่หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับคือ 250 mcg ต่อวัน
แหล่งอาหารของสารไอโอดีน
แหล่งอาหารที่มีสารไอโดดีนมากคือ เกลือไอโอดีน แล้วยังสามารถพบได้ใน อาหารทะเล เนื้อสัตว์ สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมปัง
ตัวอย่าง อาหารที่อุดมด้วยไอโอดีนได้แก่
- สาหร่ายแห้งสำหรับทำแกงจืด มีไอโอดีน 350 mcg/100 gm
- กุ้งทะเลตัวเล็ก มีไอโอดีน 59 mcg/100 gm
- ปลาทูนึ่ง มีไอโอดีน 48 mcg/100 gm
- กุ้งทะเลตัวเล็ก มีไอโอดีน 59 mcg/100 gm
- ปลาทูนึ่ง มีไอโอดีน 48 mcg/100 gm
มีสารอาหารบางประเภทที่รบกวนการดูดซึมของสารไอโอดีนได้ เช่น
- perchlorate : อาจพบปนเปื้อนใน น้ำ อาหาร นม
- nitrate : พบในผักใบเขียว , สารกันบูดในเนื้อและปลา
- thiocyanate : ในผัก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโคลี่ ข้าวโพด เชอร์รี่ อัลมอน
- nitrate : พบในผักใบเขียว , สารกันบูดในเนื้อและปลา
- thiocyanate : ในผัก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโคลี่ ข้าวโพด เชอร์รี่ อัลมอน
การให้ไอโอดีนเสริม
การให้ไอโอดีนเสริมนั้น ทำในกรณีที่ได้รับไอโอดีนจากอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ และอาหารที่รับประทาน ไอโอดีนเสริมมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น สาหร่ายทะเล เม็ดวิตามินหรือเม็ดอาหารเสริม เป็นต้น
การให้ไอโอดีนเสริมนั้น ทำในกรณีที่ได้รับไอโอดีนจากอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ และอาหารที่รับประทาน ไอโอดีนเสริมมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น สาหร่ายทะเล เม็ดวิตามินหรือเม็ดอาหารเสริม เป็นต้น
เม็ดวิตามินที่มีไอโอดีนเสริม ได้แก่
Obimin AZ มีไอโอดีน 100 mcg
Iodine GPO มีไอโอดีน 150 mcg
กรมอนามัยแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับไอโอดีน 250 mcg ต่อวัน โดยได้จากอาหารที่มีไอโอดีน และจากการรับประทานวิตามินเสริมไอโอดีนวันละ1เม็ด หรือตามคำแนะนำของแพทย์
กรณีที่หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมีย อาจพิจารณาให้ iodine GPO ซึ่งมีเฉพาะสารไอโอดีนอย่างเดียว แทนวิตามินเสริมอื่นๆที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
ความเสี่ยงถ้าได้รับสารไอโอดีนมากเกินไป
ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนถึงปริมาณของไอโอดีนที่ไม่ควรได้รับเกินในแต่ละวัน ว่าเป็นเท่าใด แต่ในหญิงตั้งครรภ์ปกติจะสามารถควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับไอโอดีนปริมาณมากก็ตาม แต่ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนซ่อนอยู่ เช่น ภาวะไทรอยด์ Hashimotos จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้
ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนถึงปริมาณของไอโอดีนที่ไม่ควรได้รับเกินในแต่ละวัน ว่าเป็นเท่าใด แต่ในหญิงตั้งครรภ์ปกติจะสามารถควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับไอโอดีนปริมาณมากก็ตาม แต่ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนซ่อนอยู่ เช่น ภาวะไทรอยด์ Hashimotos จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้
ในทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา ต่อมไทรอยด์ของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ การได้รับไอโอดีนปริมาณมากในแม่ อาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ประโยชน์จากการใด้ไอโอดีนเสริมก็ยังมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะได้รับไอโดดีนมากเกิน
องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดว่าการได้รีบสารไอโอดีนไม่ควรเกิน 500 mcgต่อวัน
ผลของการขาดไอโอดีนในระหว่างตั้งครรภ์
ผลในมารดา
ภาวะขาดไอโอดีนรุนแรง จะมีผลทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในมารดา และยังมีความสัมพันธ์ กับภาวะแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และอาจทำให้เกิดคอพอกได้
ภาวะขาดไอโอดีนรุนแรง จะมีผลทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในมารดา และยังมีความสัมพันธ์ กับภาวะแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และอาจทำให้เกิดคอพอกได้
ผลต่อทารก
ฮอร์โมนไทรอยด์ ถือว่าเป็นฮอร์โมนที่มีความจำเป็นตั้งแต่ ช่วงแรกของพัฒนาการทางระบบประสาท ในภาวะที่ขาดไอโอดีนรุนแรง จะมีผลกระทบต่อทารก ทำให้มีโอกาสพิการแต่กำเนิด มีพัฒนาการด้านสติปัญญาลดลง มีการศึกษาวิจัย พบว่าเด็กที่อาศัยในพื้นที่ที่ขาดไอโอดีนรุนแรง มี IQ ต่ำกว่าเด็กที่อาศัยในพื้นที่ที่ไอโอดีนเพียงพอ ดังนั้นการให้เกลือไอโอดีนเสริม เป็นการป้องกันภาวะปัญญาอ่อนได้
ฮอร์โมนไทรอยด์ ถือว่าเป็นฮอร์โมนที่มีความจำเป็นตั้งแต่ ช่วงแรกของพัฒนาการทางระบบประสาท ในภาวะที่ขาดไอโอดีนรุนแรง จะมีผลกระทบต่อทารก ทำให้มีโอกาสพิการแต่กำเนิด มีพัฒนาการด้านสติปัญญาลดลง มีการศึกษาวิจัย พบว่าเด็กที่อาศัยในพื้นที่ที่ขาดไอโอดีนรุนแรง มี IQ ต่ำกว่าเด็กที่อาศัยในพื้นที่ที่ไอโอดีนเพียงพอ ดังนั้นการให้เกลือไอโอดีนเสริม เป็นการป้องกันภาวะปัญญาอ่อนได้
ผลต่อมารดาหลังคลอดและให้นมบุตร
ในระยะหลังคลอดหรือให้นมบุตร ไอโอดีนยังมีความจำเป็นสำหรับมารดาและทารก ในน้ำนมและใน colostrum จะมีปริมาณไอโอดีนมากกว่าในกระแสเลือด 20-50 เท่า และเนื่องจากต่อมน้ำนมมีการใช้ไอโอดีนปริมาณมากทำให้ ปริมาณไอโอดีนที่เก็บสะสมไว้หรือปริมาณไอโอดีนในกระแสเลือดของมารดาลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้ามารดามีภาวะขาดไอโอดีน และได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ทารกได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เกิดภาวะคอพอก หรือไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำได้
สรุป
สารไอโอดีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร การขาดไอโอดีนสามารถส่งผลกระทบต่อมารดาและทารกได้ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารหรือให้ไอโอดีนเสริม ในหญิงที่มีความเสี่ยงขาดไอโอดีน ควรได้รับไอโอดีนเสริมตั้งแต่ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ หรือเมื่อวางแผนจะมีลูก โดยปริมาณที่แนะนำคืออย่างน้อยวันละ 250 mcg และไม่ควรเกินวันละ 500 mcg