ข่าวประชาสัมพันธ์
มาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดขยะกันเถอะ
- 23 กรกฎาคม 2563
- อ่าน 374 ครั้ง
ปัจจุบันภาชนะใส่อาหารไม่ว่าจะเป็นจาน ชาม หรือกล่อง ที่เราพบเห็นทั่วไปและหาซื้อได้ง่าย
นิยมทำมาจากพลาสติก พอเราใช้เสร็จ พลาสติกเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก
พลาสติก 1 ชิ้น ต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี หากนำไปเผา ก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ที่เป็นมลภาวะทำให้โลกร้อน ส่งผลต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Packaging) นับว่าเป็นอีกหนึ่งในคำตอบของ
การช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน
ภาชนะที่ผลิตมาจากธรรมชาติ มีอะไรบ้างวันนี้เราจะเอาข้อมูลมาฝากกันค่ะ
1.ภาชนะจากใบเล็บครุฑลังกา
ไม่ว่าจะเป็นของทอด ของนึ่ง และของทานเล่น กินเสร็จก็สามารถทิ้งได้เลย ใบเล็บครุฑจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติ
แต่สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่ความครีเอทและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จัดว่าเป็นไอเดียที่เก๋มากสำหรับยุคสมัยนี้ ว่าแล้วก็ไปหาปลูกไว้สักต้นดีกว่า
ได้ทั้งความสวยงามและประโยชน์อีกด้วย
2.ภาชนะจากกล้วย (บานาบ่ามาเช่)
และหยวกกล้วยมาผลิตเป็นจาน ชาม โดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปคล้าย ๆ กับเปเปอร์มาเช่ โดยที่ไส้ตรงกลางเป็นกระดาษ
อัดหยวกกล้วยเป็นผิวหน้าด้วยมือทุกใบ และเคลือบทับด้วยน้ำมันแบบฟู้ดเกรด สามารถใส่อาหารรับประทานได้คล้ายกับภาชนะทั่วไป
แต่จะต้องหลีกเลี่ยงพวกแกง หรือเมนูที่มีน้ำและไม่ควรแช่น้ำไว้นาน การล้างทำความสะอาดนั้นก็เหมือนภาชนะที่ทำจากไม้ทั่วไป
ล้างด้วยน้ำยาล้างจานผึ่งลมให้แห้ง
3.ภาชนะจากใบทองกวาว
รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากใบที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ภาชนะที่ทำจากใบทองกวาวสามารถใส่อาหารได้ทั้งของคาว หวาน
รวมไปถึงเมนูของร้อน เมนูทอด และแกงต่างๆ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่า จะมีการรั่วซึม ต้องบอกเลยว่าถ้วยจากใบทองกวาว
สามารถใส่อาหารทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 วันได้โดยไม่รั่วซึมแถมยังคงรูปทรงเดิม ไม่ย้วย ไม่แหลกสลายไปในระหว่างทางอย่างแน่นอน
4.ภาชนะจากกาบหมาก
ส่วนของลูกหมากก็เก็บไปขายสร้างรายได้ แต่สิ่งที่หลงเหลือไว้ก็คือกาบหมากที่ร่วงหลุดอยู่ แบรนด์วีรษา(Veerasa)
เล็งเห็นประโยชน์จึงนำกาบหมากมาแปรรูปให้เป็นจานใส่อาหาร โดยนำกาบหมากมาล้างทำความสะอาด นำไปพึ่งแดดให้แห้งสนิท
จากนั้นนำมาตัดด้วยเครื่อง แล้วบรรจุขาย ข้อดีของจาน-ชามกาบหมากคือมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
สามารถนำเข้าไมโครเวฟและเตาอบได้อย่างปลอดภัย ใส่อาหารได้ทุกประเภท
5.ภาชนะจากผักตบชวา
เช่น การทำกระเป๋า การทำจาน การทำกล่อง การทำเก้าอี้จากผักตบชวา ไปจนถึงการทำเสื้อผ้าจากผักตบชวา
เรียกได้ว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถเพิ่มอาชีพให้กับผู้ทำได้อีกด้วย หากราคายังค่อนข้างสูง
ถ้าผลิตในปริมาณมาก ก็จะประหยัดมาก
6.ภาชนะจากชานอ้อย
ได้แก่ อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝั่งเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น โดยไม่เพียงแต่ทำเป็นกล่องใส่อาหารคล้ายกล่องโฟมเท่านั้น
แต่กล่องชานอ้อนยังถูกนำมาขึ้นรูปให้ใช้งานได้หลากหลายแบบ ทั้งจาน ชาม ถ้วย แก้วแบบใช้แล้วทิ้ง รวมไปถึงถาดหลุมที่ใช้กันในโรงอาหารอีกด้วย
นอกจาก กล่องชานอ้อย จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว กระบวนการผลิตกล่องชานอ้อนก็เรียกได้ว่าเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
และถือเป็นตัวอย่างของการรีไซเคิลที่ดีมากๆ เนื่องจากเป็นการใช้เยื่อกระดาษชานอ้อยที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
นอกจากนั้นยังสามารถใช้พลังงานไอน้ำแทนการใช้ไฟฟ้าในการผลิต จึงไม่เกิดของเสียและยังไม่มีการใช้คลอรีนในการฟอกสี
หากแต่ใช้แสง UV ธรรมชาติ จึงมั่นใจเรื่องความสะอาดและปลอดภัยได้แน่นอน บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย ถือว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก
เพราะใช้พลังงานธรรมชาติและเมื่อฝังกลบก็ใช้เวลาในการย่อยสลายเพียง 45 วันเท่านั้น
7.ภาชนะจากใยพืช
8.ภาชนะจากพลาสติกผสมฟางข้าวสาลี
เพื่อมาช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพลาสติกในการผลิตสินค้าต่างๆ จนพบว่า ฟางข้าวสาลีเหมาะที่จะนำมาใช้มากที่สุด
โดยใช้กรรมวิธี คือ นำฟางข้าวสาลีมาอัดเป็นเม็ด แล้วผสมกับเม็ดพลาสติก เพียง 5% จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูป
ทำให้แก้วน้ำจากฟางข้าวมีความแข็งแรงคงทนเทียบเท่ากับแก้วน้ำพลาสติกทั่วไป ใช้เวลาย่อยสลายด้วยการฝังดินเพียง 3 ปี
เร็วกว่าพลาสติกที่ใช้เวลาหลายสิบปี และยังมีความพิเศษตรงที่แก้วจะมีกลิ่นหอมฟางสาลีติดอยู่ไปตลอด โดยที่ไม่มีรสหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด
9.ภาชนะจากพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic)
เพราะผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพซึ่งสลายตัวได้ จะสามารถสลายตัวกลายเป็นสารชีวมวล น้ำและคาร์บอนไดออกไซค์ได้ในสภาพที่เหมาะสม เช่น ในกองปุ๋ยหมักหรือในดิน
โดยไม่ทิ้งสารตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม ภายในเวลาเพียง 6 เดือน โดยต้องมีสภาวะที่เหมาะสมในการสลายตัว คือ สภาวะที่จุลินทรีย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในกระบวนการหมัก
หรือการฝังกลบในดิน ทั้งนี้การสลายตัวช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณจุลินทรีย์ รวมถึงขนาดและความหนาของผลิตภัณฑ์ด้วย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://goodlifeupdate.com/healthy-food/196428.html