ข่าวกิจกรรมเทศบาล
รับการตรวจประเมิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประเภทโดดเด่น รอบการตรวจประเมินเชิงลึกในพื้นที่ (รอบ 3)
- 14 กรกฎาคม 2566
- อ่าน 161 ครั้ง
![](news/img/news_2_1901.jpg)
เทศบาลตำบลเชิงดอย รับการตรวจประเมิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประเภทโดดเด่น รอบการตรวจประเมินเชิงลึกในพื้นที่ (รอบ 3) เพื่อนำเสนอผลงานร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยมีคณะกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ก.ถ.) เป็นผู้ประเมิน ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Application Zoom Cloud Meetings)
วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลเชิงดอย โดยนายมงคล ชัยวุฒิ นายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเทศบาลตำบลเชิงดอย ร่วมกับตัวแทนภาคีเครือข่ายนวัตกรรมโครงการลมหายใจคนเชิงดอย ร่วมกันนำเสนอผลงานเพื่อรับการประเมินในรอบที่ 3 ซึ่งเป็นการตรวจประเมินเชิงลึกในพื้นที่ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการประเมิน ดังนี้
1.ภาพรวมการบริหารจัดการที่ดีของ อปท.
1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายและการตรวจสอบมีการแต่งตั้งภาคประชาชนเข้าไปเป็นกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 การป้องกันความรุนแรงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยพิจารณาจากการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.3 ประสิทธิภาพในการบริหารงานและการควบคุมการทุจริต การสร้างกลไกในการตรวจสอบควบคุม การบริหารและการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ปราศจากการทุจริต
1.4 คุณภาพของกฎระเบียบ มีการบังคับใช้ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติที่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
1.5 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริการประชาชน (front office) และในการบริหารงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (back office) ทำให้เกิดความสะดวก
รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
1.6 การบูรณาการการทำงานเชิงพื้นที่ (เฉพาะ อปท. ประเภทดีเลิศและประเภทโดดเด่น)
2 นวัตกรรม
2.1 ความสอดคล้องของนวัตกรรมกับสภาพปัญหาหรือบริบทชุมชนท้องถิ่น ซึ่งนวัตกรรมที่ทำต้องเกิดจากสภาพปัญหาของท้องถิ่น หรือความต้องการของประชาชน
2.2 ความท้าทายและการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในนวัตกรรมท้องถิ่น
2.3 การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานราชการ/ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
2.4 มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการดำเนินโครงการนวัตกรรม
2.5 การบริหารแบบมืออาชีพและลดขั้นตอน/อำนวยความสะดวก โดยพิจารณาจากความรวดเร็ว เข้าถึงบริการได้หลายช่องทาง
2.6 ประโยชน์ ผลลัพธ์ที่ประชาชนในพื้นที่ได้รับจากโครงการนวัตกรรม
2.7 ระดับความกว้างขวางครอบคลุมและผลกระทบของโครงการนวัตกรรม
2.8 ประโยชน์ที่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับจากนวัตกรรม
2.9 ความพึงพอใจของประชาชนต่อนวัตกรรม
2.10 ความยั่งยืนของนวัตกรรม ผลสำเร็จและความยั่งยืนของโครงการเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานอื่น
โดยการนำเสนอผลงานนวัตกรรมลมหายใจคนเชิงดอยในครั้งนี้ ได้ผ่านไปด้วยดี ด้วยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่มาจากหลายภาคส่วน อาทิ
1. หัวหน้าหน่วยป้องกันและรักษาป่า ชม 23
2. หัวหน้าชุดปฏิบัติการผาลาด
3. หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ
4. หัวหน้าหน่วยควบคุมไฟป่าห้วยฮ่องไคร้ - ขุนแม่กวง ชม 24
5. หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดปทุมสราราม (หนองบัว)
7. ประชาชนในพื้นที่ป่า
9. ผู้แทนจากโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์
10. กำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเชิงดอย
11. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
12. ผู้แทนจากเทศบาลตำบลป่าเมี่ยง
13. ผู้แทนจากเทศบาลแม่โป่ง
14. ผู้แทนจากเทศบาลตำบลลวงเหนือ