ผู้บริหาร

นายมงคล ชัยวุฒิ

นายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย

08-9955-6886

msgคุยกับนายกเทศมนตรี

นางจิราภา ชินสรนันท์

ปลัดเทศบาลตำบลเชิงดอย

053-104900 ต่อ 36

logoข้อมูลเทศบาล

เมนูหลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์

โรคพิษสุนัขบ้า ภัยร้ายใกล้ตัว.แต่ป้องกันได้

  • 13 มีนาคม 2567
  • อ่าน 14 ครั้ง

จากรายงานเหตุการณ์ตรวจสอบข่าวการระบาดในประเทศ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 29 ม.ค. - 4 ก.พ. 2567 รายงานว่าศูนย์วิจัย และพัฒนาการสัตวแพทย์ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ตรวจพบโรค พิษสุนัขบ้าในหัวสุนัขตัวที่ถูกสุนัขที่ตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้าก่อนหน้านี้กัด โดยสุนัขที่ถูกกัด อายุ 3 เดือน เป็นสุนัขมีเจ้าของอาศัยอยู่ในพื้นที่ ต. ศรีสองรัก อ. เมือง จ. เลย ต่อมาสุนัข ตัวดังกล่าวได้เสียชีวิต ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ ฯ พบว่าในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในหัวสุนัขจำ นวน 3 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นสุนัข มีเจ้าของ 2 ตัวอย่างและสุนัขจรจัด 1 ตัวอย่าง ตามที่ทราบกันว่าโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรค ติดต่อที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับวัคซีนในการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก ผู้ป่วยเสียชีวิตทุกราย ขณะที่ประเทศไทยได้จัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อให้ ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า แต่ยังคงพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ทุกปี ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าย้อนหลัง ไปตั้งแต่ ปี 2561 - 2566 พบผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 34 ราย โดยปีที่พบผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ ปี 2561 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวจำ นวน 17 ราย ปีต่อ ๆ มายังคงพบประปราย อย่างต่อเนื่องโดยพบผู้เสียชีวิตปีละ 3 ราย จนถึงปี 2566 โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น สำ หรับประเทศไทยพบว่าสุนัขเป็นสัตว์ที่ได้รับรายงานว่าเป็นโรคนี้มากที่สุดเมื่อเทียบ กับสัตว์ชนิดอื่น ๆ โรคนี้มีความรุนแรงมากหากติดเชื้อจนมีอาการป่วยไม่สามารถรักษาให้ หายได้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วน เลีย น้ำ ลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่ม จำ นวนที่บริเวณแผลที่ถูกกัด หลังจากนั้นหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนจะเริ่มมีอาการป่วย อาการป่วยจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับจำ นวนเชื้อที่ได้รับและตำ แหน่งบาดแผล หากอยู่ใกล้สมอง เชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางหรือเข้าสู่สมองได้เร็วและเสียชีวิตในที่สุด การให้ความ สำ คัญกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขและแมวที่เลี้ยงในครัวเรือนหรือแม้แต่สุนัขจรจัด ให้เข้าถึง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวทุกปีและหากผู้ใดถูกสุนัขแมว ข่วน เลีย กัด โดยเฉพาะ เป็นสัตว์ที่ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน ควรล้างทำ ความสะอาดบริเวณที่ถูกสัมผัส และรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิต

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สามารถทำได้ดังนี้
1. ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยงตามกำหนด เป็นประจำทุกปี
2. ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปในที่สาธารณะ หรือหากนำไปเดินเล่นนอกบ้านควรมีสายจูง
3. หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด ข่วน โดยการไม่แหย่หรือรังแกให้สัตว์โมโห รวมถึงไม่เข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ
ถ้าถูกสัตว์กัดแล้ว ควรปฏิบัติตัวดังนี้
4. รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง โดยล้างให้ถึงก้นแผล นานอย่างน้อย  15 นาที เช็ดแผลด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง 

ใส่ยาฆ่าเชื้อบริเวณแผล เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีน เป็นต้น
5. พบแพทย์ทันที ซักประวัติเพื่อรับวัคซีนป้องกันได้ทันท่วงที หากมีสมุดวัคซีนหรือประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

และบาดทะยักควรนำไปด้วย
จำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ที่กัด สืบหาเจ้าของเพื่อสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า รวมถึงสังเกตอาการสัตว์ที่กัดเป็นเวลา 10 วัน 

หากสบายดีไม่น่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าสัตว์ตาย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อนำซากมาตรวจและทำลายอย่างถูกวิธี
รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสสัตว์เป็นประจำ 

ได้แก่ สัตวแพทย์ ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงหรือขายสัตว์ เป็นต้น รวมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่เข้าถึงวัคซีนลำบาก 

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า หากถูกกัดจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีกเพียง 1- 2 ครั้ง
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นภัยเงียบอย่างหนึ่ง หากติดเชื้อ จะส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง  

ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมดเกิดความผิดปกติ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มีวิธีการรักษา 

การดูแลป้องกันตนเองด้วยวิธีการข้างต้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้เราปลอดภัยจากภัยร้ายโรคพิษสุนัขบ้าได้

ที่มา https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1534020240212034501.pdf




แชร์หน้านี้:


ลิงค์หน่วยงานต่างๆ