ผู้บริหาร

นายมงคล ชัยวุฒิ

นายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย

08-9955-6886

msgคุยกับนายกเทศมนตรี

นางจิราภา ชินสรนันท์

ปลัดเทศบาลตำบลเชิงดอย

053-104900 ต่อ 36

logoข้อมูลเทศบาล

เมนูหลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์

15 วิธีประหยัดน้ำ เริ่มทำได้ง่าย ๆ เริ่มจากตัวเรา

  • 7 เมษายน 2558
  • อ่าน 356 ครั้ง

วิธีประหยัดน้ำ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ให้มีไว้ใช้ได้นานจนถึงรุ่นลูกหลาน แถมยังประหยัดเงินค่าน้ำที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน


1. เช็คท่อน้ำและก๊อกน้ำ   

         น้ำหยดเล็ก ๆ จากท่อน้ำหรือก๊อกน้ำที่ติดตั้งไม่แน่นนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ซ่อมแซมในแต่ละวันนั้นจะสูญเสียน้ำไปประมาณ 75 ลิตร และถ้าท่อน้ำมีขนาดใหญ่จะเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 387 ลิตร คิดูสิคะว่ามันมากมายแค่ไหน 

2. ไม่ทิ้งขยะลงชักโครก
         การทิ้งขยะลงชักโครกนอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ชักโครกตันแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นผ้าอนามัย กระดาษชำระ หรือก้นบุหรี่ที่ถูกท้งลงไป จะต้องใช้น้ำปริมาณมากทีเดียวในการชำระล้างไม่ให้เหลือซาก 

3. ตรวจเช็คถังเก็บน้ำชักโครกเสมอ        

      หากถังเก็บน้ำชักโครกรั่วจะทำให้มีน้ำไหลลงชักโครกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นแล้วควรหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำ โดยการใส่สีผสมอาหารลงไปในถังเก็บน้ำชักโครกแล้วกดน้ำทิ้ง และหลังจากกดน้ำไปแล้วประมาณ 30 วินาทียังมีน้ำไหลออกมา แสดงว่าถังเก็บน้ำชักโครกชำรุด ต้องรีบซ่อมแซมโดยด่วน

4. ปิดน้ำระหว่างแปรงฟัน
         หลาย ๆ คนมักจะเผลอเปิดน้ำขณะแปรงฟัน เพราะคิดว่าคงจะไม่สิ้นเปลืองอะไรมากมาย โดยที่ไม่รู้เลยว่าการทำเช่นนี้ทำให้เสียน้ำไปถึง 200 แกลลอนหรือ 757 ลิตรโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งเทียบเท่ากับสะรขนาดใหญ่ที่สามารถใช้เลี้ยงฉลามได้ถึง 6 ตัวเลยทีเดียว 

5. ปิดน้ำระหว่างถูสบู่
         จะเปิดน้ำทิ้งไปทำไมหากในระหว่างที่สระผมหรือถูสบู่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงควรปิดน้ำให้สนิทเสียก่อน แล้วค่อยเปิดน้ำอีกครั้งหลังจากชำระร่างกายด้วยสบู่เสร็จ 

6. อาบน้ำให้เร็วขึ้น

         เพราะในการอาบน้ำแค่ 4 นาทีเท่ากับการใช้น้ำไป 75–150 ลิตร ซึ่งถ้าอาบนานกว่านี้ปริมาณของน้ำที่ต้องใช้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นแล้วควรอาบน้ำให้เร็วขึ้นอีกนิด ใช้เวลาให้น้อยลง เพื่อช่วยกันประหยัดทรัพยากรน้ำไว้ใช้ในภายภาคหน้า

7. อาบน้ำโดยใช้ฝักบัว

         หลายคนคงชอบนอนแช่ในอ่างอาบน้ำ แต่หลังจากนอนแช่ในอ่างเสร็จก็ต้องมาล้างตัวด้วยน้ำสะอาดอีกรอบอยู่ดี ซึ่งเท่ากับว่าใช้น้ำเป็น 2 เท่าเลยทีเดียว ฉะนั้นเปลี่ยนมาอาบน้ำโดยใช้ฝักบัวจะช่วยประหยัดได้มากกว่าเยอะเลย 

8. เปลี่ยนวิธีล้างจาน
         หลาย ๆ คนอาจจะชินกับการเปิดน้ำไหลผ่านเพื่อล้างฟองสบู่ แต่กว่าจานจะสะอาดก็ต้องเสียน้ำไปมากเหมือนกัน เลยอยากแนะนำให้รองน้ำใส่กะละมังหรือซิงค์เอาไว้ก่อนแล้วค่อยนำจานมาล้าง ซึ่งวิธีนี้ทำให้จานสะอาดมากกว่า แถมยังใช้น้ำในการล้างจานน้อยกว่าด้วย

9. ไม่เปิดน้ำไหลผ่านผักและผลไม้
         เช่นเดียวกับการล้างจาน การเปิดน้ำให้ไหลผ่านผักและผลไม้ต้องใช้น้ำเยอะและอาจจะล้างผักผลไม้ได้ไม่สะอาด ฉะนั้นจึงแนะนำให้ล้างโดยการเปิดน้ำใส่ซิงค์หรือกะละมังแล้วนำผักกับผลไม้แช่ลงไปดีกว่า 

10. ปลูกหญ้ารอบโคนต้นไม้
         การปลูกหญ้ารอบโคนต้นไม้จะช่วยชะลอการระเหยน้ำ ถ้าบริเวณที่ปลูกต้นไม้มีแค่ดินหรือมีหญ้าเป็นหย่อม ๆ น้ำจะระเหยเร็วมากหลังจากรดน้ำต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ได้รับน้ำไม่เพียงพอ เหี่ยวเฉา และต้องรดใหม่อีกรอบ

11. ล้างรถให้ถูกวิธี
         การล้างรถอย่างถูกวิธีก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยประหยัดน้ำได้ โดยการล้างรถจากส่วนบนมาส่วนล่างและใช้ถังน้ำแทนสายยางจะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่า แถมหลังจากนี้ก็จะได้ไม่ต้องตกใจกับค่าน้ำแพง ๆ ในแต่ละเดือนอีกต่อไปแล้วด้วย 

12. ซักผ้าครั้งละมาก ๆ
         การซักผ้าครั้งละน้อยชิ้นจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมากเพราะต้องทยอยซักเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อนำปริมาณน้ำซักผ้ามาคิดรวมกันแล้วจะมากกว่าการซักครั้งเดียวรวมกันหลายเท่า ฉะนั้นแล้วควรเก็บไว้ซักพร้อมกันอาจจะซักผ้าแค่ 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์

13. ตรวจสอบมิเตอร์น้ำ
         การตรวจสอบมิเตอร์น้ำเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้รู้ว่าแต่ละเดือนนั้นใช้น้ำไปเท่าไรแล้ว ยังสามารถเช็คน้ำรั่วได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยให้ปิดน้ำแล้วไปเช็คมิเตอร์ ถ้ามิเตอร์ยังเพิ่มแสดงว่ามีน้ำรั่ว และถ้าเจอก็รีบให้ซ่อมแซมเสียนะคะ ก่อนที่จะเสียน้ำไปมากกว่านี้ 

14. รียูสน้ำซักผ้า 
         หลังจากซักผ้าและล้างจานอย่าเพิ่งเทน้ำทิ้ง เพราะสามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ต่อได้ แต่แนะนำให้ใช้น้ำสุดท้ายเท่านั้นนะคะ เพราะน้ำจากการซักผ้าและล้างจานครั้งแรก ๆ นั้นมีสารเคมีอยู่ ซึ่งอาจทำให้ต้นไม้เหี่ยวหรือเฉาตาย

15. ช่วยกันอนุรักษ์ป่า
         เพราะต้นไม้และป่าเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ เมื่อต้นไม้ถูกตัดแล้วก็จะไม่มีแหล่งดูดซึมน้ำฝนและก่อให้เกิดสภาวะแห้งแล้งตามมา ฉะนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ป่าเพื่อรักษาต้นน้ำของเราเอาไว้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก treehugger eartheasy  และ epa 



แชร์หน้านี้:


ลิงค์หน่วยงานต่างๆ