ผู้บริหาร

นายมงคล ชัยวุฒิ

นายกเทศมนตรีตำบลเชิงดอย

08-9955-6886

msgคุยกับนายกเทศมนตรี

นางจิราภา ชินสรนันท์

ปลัดเทศบาลตำบลเชิงดอย

053-104900 ต่อ 36

logoข้อมูลเทศบาล

เมนูหลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์

โรคพิษสุนัขบ้า

  • 7 เมษายน 2560
  • อ่าน 310 ครั้ง

โรคพิษสุนัขบ้า  (Rabies)

ลักษณะทั่วไป โรคพิษสุนัขบ้า บางครั้งเรียกว่าโรคกลัวน้ำ  เป็นโรคร้ายแรงมีอันตรายมาก เพราะหาก
ปรากฎอาการแล้วจะเสียชีวิตทุกรายไม่มีวิธีรักษาได้ โรคนี้เกิดได้โดยถูกสัตว์ที่เป็นบ้ากัดแล้วไม่ได้รับการ
ปฐมพยาบาลและป้องกันโรคที่ถูกต้อง อาการจะเริ่มต้นด้วยมีไข้ต่ำ ๆ อาจเสียวและคันบริเวณที่ถูกกัด ต่อมาจะมี
อาการของระบบประสาทคือกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ชัก คอแข็ง มีอาการประสาทหลอน น้ำตาไหล น้ำลายไหล เหงื่อออกมาก กลืนน้ำไม่ได้ ไวต่อสิ่งกระตุ้น กลัวลม เพียงเป่าหรือโบกลมใส่จะมีอาการผวาหรือชัก หลังจากนั้นจะมี
อาการกลัวน้ำ  เนื่องจากเวลาดื่มน้ำจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อคอหอย ทำให้กลืนไม่ได้ ในระยะแรกผู้ป่วยยังมี
สติสัมปชัญญะดี พูดคุยด้วยรู้เรื่อง แต่ในไม่ช้าจะค่อย ๆ หมดสติ ในที่สุดระบบการหายใจจะหยุดทำงาน และตาย
จากการหยุดหายใจ  ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงตายใช้เวลาประมาณ 2-6 วัน อย่างมากไม่เกิน 7 วัน (กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2539 : 102) 



สาเหตุ โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อเรบีส์ ไวรัส (Rabics Virus) ซึ่งมีแหล่งเพาะเชื้อ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น สุนัข สุนัขจิ้งจอก แมว วัว ควาย ค้างคาว ลิง และอื่น ๆ สำหรับประเทศไทย สุนัขเป็น
ตัวต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคขึ้น (ปริมณฑ์  กาญจนัษฐิติ. 2537 : 431)
การติดต่อ โรคนี้มีวิธีการติดต่อโดยเชื้อออกจากร่างกายคนหรือสัตว์ ที่เป็นโรคทางน้ำลาย เข้าสู่ร่างกาย
ผู้อื่นได้ทางผิวหนัง โดยการกัดหรือเลีย เชื้อจะเข้าทางบาดแผล รอยถลอก อาจเข้าทางเยื่อบุ หรือติดต่อโดยการ
เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การติดต่อที่สำคัญที่สุด คือ การถูกกัด สัตว์ที่เป็นโรค สามารถแพร่เชื้อได้ตลอดเวลาที่มีเชื้ออยู่ใน
น้ำลาย สัตว์ทุกตัวเมื่อแสดงอาการเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแล้วจะตายภายใน 10-14 วัน เชื้อเรบีส์ ไวรัส สามารถกระจาย
ไปในอากาศได้ เช่น ภายในถ้ำที่มีค้างคาวอยู่เป็นจำนวนมาก อากาศภายในถ้ำจะมีเชื้อที่ล่องลอยอยู่กับละออง
น้ำลาย จึงทำให้เกิดการติดโรคได้โดยทางหายใจ เช่น ติดโรคขณะสำรวจถ้ำค้างคาวเป็นเวลานาน ๆ
(ประกอบ  บุญไทย. 2529 : 297)
การควบคุมและป้องกันโรค โรคพิษสุนัขบ้าสามารถควบคุมและป้องกันได้ดังนี้
(กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2539 : 105-110)
1.  การป้องกันก่อนการเกิดโรค โดย
1.1  ให้นำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นประจำทุกปี
1.2  กำจัดสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ
1.3  ให้สุขศึกษาแก่ผู้เลี้ยงสุนัข และประชาชนในเรื่องการควบคุมสัตว์เลี้ยง
2.  การควบคุมและป้องกันเมื่อเกิดโรคขึ้น โดย
2.1  การรายงานไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสอบสวนหาแหล่งโรคต่อไป
2.2  ป้องกันการสัมผัสกับน้ำมูก  น้ำลายของผู้ป่วยโดยการทำลายเชื้อที่ติดมากับภาชนะ เครื่องใช้
2.3  ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า ควรสวมถุงมือ เสื้อคลุม และผ้าปิดปาก จมูกให้การรักษาตาม
อาการภายใต้การรักษาของแพทย์
2.4  การให้ภูมิคุ้มกัน แก่ผู้สัมผัสโรค หากมีแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตา จมูก ปากหรือสัมผัสน้ำลาย
ผู้ป่วย ควรได้รับการฉีดวัคซีน
2.5  เมื่อถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงกัดหรือข่วน ให้ปฏิบัติดังนี้
1)  รักษาบาดแผลที่ถูกกัดหรือข่วนทันที โดยการล้างแผลและรักษาบาดแผลอย่างถูกต้องและ
ทั่วถึงทันทีด้วยน้ำและสบู่ หากแผลลึกต้องล้างให้ถึงก้นแผล และใส่ยาฆ่าเชื้อด้วย
2)  ถ้าถูกกัดบริเวณหน้า คอ หรือมือ หรือถูกกัดเป็นแผลใหญ่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
แพทย์อาจเริ่มฉีดวัคซีนให้เลย
3)  ห้ามฆ่าสุนัข ให้ขังและสังเกตอาการสุนัขเป็นเวลา 10 วัน ขณะที่ขังควรให้อาหารและน้ำ
ตามปกติ สุนัขบ้ามักจะตายภายใน 10 วัน ให้ตัดหัวสุนัขส่งตรวจ ถ้าพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แพทย์จะฉีดวัคซีนให้
กับผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัดทันที และอาจฉีดซีรั่มให้ด้วยตามความจำเป็น ถ้าสุนัขถูกฆ่า หรือตายก่อนครบ 10 วัน จะต้อง
ตัดหัวสุนัขส่งตรวจเช่นกัน การตัวหัวสุนัขส่งตรวจ ควรสวมถุงมือเสมอ ถ้าไม่มีถุงมืออาจใช้ถุงพลาสติกสวม ตัดหัวสุนัขแค่คอใส่ในถุงพลาสติกรัดยางหรือผูกปากถุงไว้ให้สนิท แล้วแช่น้ำแข็งไว้เพื่อไม่ให้มีการเน่าเกิดขึ้น ทั้งนี้
เพราะถ้าสมองสุนัขเน่าเสียก่อนจะตรวจไม่ได้ จากนั้นให้รีบนำหัวสุนัขส่งตรวจโดยเร็วในวัน เวลาราชการ
4)  ถ้าสุนัขกัดแล้ววิ่งหนีหายไป ตามหาไม่ได้ จะต้องไปพบแพทย์แพทย์อาจพิจารณาฉีดวัคซีนให้
และจะต้องฉีดวัคซีนให้ครบตามที่แพทย์กำหนดทุกเข็ม




แชร์หน้านี้:


ลิงค์หน่วยงานต่างๆ